top of page

ศาสตร์แห่งการบิน สิ่งที่ควรรู้ ข้อแนะนำการบินเบื้องต้น
วิธีการหัดเล่นเครื่องบินบังคับ

ss.jpg
เครื่องบินองค์ประกอบของเครื่องบินจะมีด้วยกันหลักๆ 3 ส่วน
ส่วนที่ 1  ปีก
ส่วนที่ 2  แพนรักษาระดับ  หรือ แนวต้าน
ส่วนที่ 3  แรงฉุด หรือ แรงเร่ง
1.1  ปีกของเครื่องบินมีหน้าที่สร้างแรงยก เหมือนกับปีกของ นก ไก่ เป็ด รูปทรงของปีกจะมีลักษณะแบนๆ ส่วนบนของปีกจะมีเนินโค้งเหมือนเนินเขาราบๆ ส่วนโค้งนี่แหละครับที่ทำให้เกิดแรงยกที่ใต้ปีก อากาศที่ไหลผ่านปีก จะแยกออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนบน และ ส่วนล่างของปีก อากาศที่ไหลผ่านส่วนบน จะมีความเร่งมากกว่าอากาศที่ไหลผ่านด้านล่างของปีก  และเกิดความต่างศักดิ์ทางความหนาแน่นอากาศเกิดขึ้น อากาศที่อยู่ใต้ปีก จะมีมวลความหนาแน่นสูงกว่าบริเวณส่วนบนของปีก เพราะอากาศไหล คือ อากาศ ที่สูญเสียความหนาแน่น เช่น เมื่อเราใช้ขันน้ำ ตักน้ำออกจากตุ่มน้ำ เราจะเห็นว่าไม่เกิดรูของน้ำตรงบริเวณที่เราตักน้ำออก เพราะน้ำที่อยู่รอบๆมีความหนาแน่นกว่าจึงไหลเข้าแทนที่ เราจึงเห็นว่าน้ำในตุ่มเรียบเหมือนเดิม ดังนั้นเมืออากาศที่มีความหนาแน่นมากกว่า จึงไหลเข้าแทนที่บริเวณที่มีมวลอากาศน้อยกว่า อากาศที่อยู่ใต้ปีกจึงพยายามไหลไปสู่ด้านบบของปีก ตรงนี้เลยเรียกว่า แรงยกนั่นเองครับ  แรงยกที่เกิดขึ้นกับปีก
1.2 แพนรักษาระดับ  หรือ แผงแนวต้าน  การเคลื่อนที่ของวัถถุใดๆ จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการมีการกระทำต่อวัถถุนั้นๆ จึงเกิดการเคลื่อนที่ แรงที่ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ และ แรงที่เกิดสวนทางการเคลื่อนที่ แรงที่เกิดสวนทางการเคลื่อนที่ เรียกว่า แรงต้าน ดังนั้นเมื่อมีแรงต้านเกิดขึ้น ทิศทางการเคลื่อนที่ก็จะสวนทางแรงต้านเสมอ ดังนั้นทิศทางการเคลื่อนที่ใดๆ ย่อมเกิดจากทิศทางของแรงต้านนั้นๆ  แพนรักษาระดับเครื่องบินจึงมีอยู่ 2 ชิ้น คือ แผงระษาระดับแนวราบ และ แผงระดับแนวดิ่ง แผงที่อยู่ด้ายหลังของเครื่องบินจึงมีหน้าที่บังคับให้เครื่องบิน บินได้ตรงตามทิศทางที่เกิดขึ้น 
1.3 แรงฉุด คือแรงที่สร้างขึ้นมาเพื่อทำให้เกิดการเคลื่อนที่ แรงที่ทำให้เครื่องบินเคลื่อนที่ไปได้ คือแรงที่เกิดจากพลังขับของอากาศ มีทั้งที่เกิดจาการหมุนใบพัด และ แรงขับที่เกิดจากการขยายตัวของก๊าส เมื่อเครื่องบินเคลื่อนที่ก็จะเกิดการไหลตัวของอากาศที่ส่วนของปีก และ เกิดกลวัฒน์อากาศขึ้น กระบวนการของเครื่องบินจึงเป็นไปตามนั้น 
แรงเหนี่ยว
be_edited.jpg
bottom of page